อากาศเป็นของผสมที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ประกอบด้วยแก๊สชนิดต่างๆ และไอน้ำ อากาศที่ไม่มีไอน้ำผสมอยู่เรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำผสมอยู่เรียกว่า อากาศชื้น โดยทั่วไปจะมีไอน้ำผสมอยู่ประมาณร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด
ส่วนประกอบของอากาศแห้ง
ในอากาศแห้งส่วนใหญ่ จะประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจนประมาณ ร้อยละ 78 แก๊สออกซิเจน ประมาณร้อยละ 21 และแก๊สอื่นๆ อีกประมาณ ร้อยละ 1 ได้แก่ แก๊สอาร์กอนประมาณ ร้อยละ 0.93 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ ร้อยละ 0.03 นอกจากนั้น อีกประมาณร้อยละ 0.04 เป็นแก๊สนีออน ฮีเลียม คริปตอน ซีนอน ไฮโดรเจน มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และเรดอน ตามปกติแล้ว จะไม่มีอากาศแห้ง เนื่องจากอากาศทั่วๆ ไปเป็นอากาศชื้นที่มีไอน้ำ และแก๊สอื่นๆ ปนอยู่ด้วย
อากาศที่เราหายใจเข้าไปไม่ใช่อากาศที่บริสุทธิ์ เพราะมีฝุ่นละอองขนาด รวมถึงเชื้อโรค และสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มองไม่เห็นอีกมากมาย ซึ่งโดยปกติแล้วจมูกของเราจะมีขนจมูกที่ช่วยกรองฝุ่นละอองต่างๆ ก่อนเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ปัจจุบันในประเทศไทยได้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จมูกคนเราไม่สามารถกรองฝุ่นนี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้ต้องหาวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน ฝุ่น PM2.5
PM2.5 คืออะไร?
คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน มาจากสองแหล่งกำเนิดใหญ่ๆ คือ
- แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง
การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต - การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ
โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ
ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
(PAHs)
อันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ
ร่างกายของผู้ที่แข็งแรงเมื่อได้รับฝุ่น
PM2.5 อาจจะไม่ส่งผลกระทบให้เห็นในช่วงแรกๆ
แต่หากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสะสมในร่างกาย
สุดท้ายก็จะก่อให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายในภายหลัง
โดยแบ่งได้เป็นผลกระทบทางร่างกาย และผลกระทบทางผิวหนัง
ผลกระทบทางสุขภาพ
- เกิดอาการไอ จาม หรือภูมิแพ้
- ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว
จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น - เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
- เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด
ผลกระทบทางผิวหนัง
- มีผื่นคันตามตัว
- ปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
- เป็นลมพิษ
ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ - ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ
เหี่ยวย่นง่าย
ระดับความรุนแรงของ
องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้ฝุ่น PM2.5
จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง
ประกอบกับรายงานของธนาคารโลก (World
Bank) ที่ระบุว่า
ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศมากถึง 50,000 ราย ส่งผลไปถึงระบบเศรษฐกิจ
รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศนี้
เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย
ความหมายของสี | ดีมาก | ดี | ปานกลาง | เริ่มมีผลกระทบ ต่อสุขภาพ |
มีผบกระทบ ต่อสุขภาพ |
ตารางที่ 1 เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย
AQI |
ความหมาย |
สีที่ใช้ |
คำอธิบาย |
0 – 25 |
คุณภาพอากาศดีมาก |
ฟ้า |
คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว |
26 – 50 |
คุณภาพอากาศดี |
เขียว |
คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ |
51 – 100 |
ปานกลาง |
เหลือง |
ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
|
101 – 200 |
เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ |
ส้ม |
ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
|
201 ขึ้นไป |
มีผลกระทบต่อสุขภาพ |
แดง |
ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ |
เราได้ให้บริการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025
การตรวจวัดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน (Emission Stationary Source)
จัดทำรายงานผลการตรวจวัด และคำนวณอัตราการระบายมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
- ปล่องเตาอบ
- ปล่องหม้อไอน้ำ
- ปล่องเตาหลอม
- ปล่องห้องพ่นสี
- ปล่องเตาเผา
- ปล่องระบายอากาศทั่วไป
- ฯลฯ
- ฝุ่นละออง (TSP)**
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10)**
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน (PM-2.5)**
- ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride)**
- คลอรีน (Chlorine)**
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
- ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of nitrogen)
- ไซลีน (Xylene)
- โลหะหนัก (Heavy Metal)
- ฯลฯ
**ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025
การตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Ambient Air Sampling)
- ฝุ่นละอองรวม (TSP)
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10)**
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน (PM-2.5)**
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
- ฯลฯ
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
- ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of nitrogen)
- สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)
- โลหะหนัก (Heavy Metal)
- ฯลฯ
**ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025การตรวจวัดคุณภาพอากาศในสถานประกอบการ (Workplace Sampling)
รายงานผลการตรวจวัด และรายงานปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย (สอ.3)
- สารเคมีในพื้นที่ทำงาน
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10)**
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน (PM-2.5)**
- โลหะหนัก (Heavy Metal)**
- กรด (Acid)**
- ฝุ่นฝ้ายดิบ (Cotton Dust)